เคลือบแก้วพ่นกับทาอันไหนดีกว่ากัน

การทำ เคลือบแก้ว สำหรับรถโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือระบบพ่น และระบบทา ซึ่งบ่อยครั้งที่มีคนพยายามเอามาเปรียบเทียบกันถึงเรื่องประสิทธิภาพ ว่าแบบไหนเหนือกว่าแบบไหน ซึ่งแน่นอนว่าฝ่ายที่เชียร์ระบบพ่น หรือ เชื่อแบบพ่นเหนือกว่า มีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากใครๆ ก็คิดว่า การพ่นเป็นการใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่สูงกว่า ดังนั้นมันน่าจะดีกว่า แต่… ในเวลาเดียวกัน ฝ่ายระบบทาก็บอกว่าต้องแบบนี้ถึงจะลง น้ำยาเคลือบแก้ว ได้เต็มที่เคลือบได้หนา เคลือบได้ดี แบบนี้ทนทานกว่า… อยากทราบใช่ไหมว่าความเป็นจริงเป็นอย่างไร แต่ในที่นี้เราจะไม่เอาเรื่องข้อดีมากล่าว เพราะเรื่องข้อดี เชื่อว่ามีคนเอามาโฆษณาแข่งกันเยอะอยู่แล้ว ดังนั้น เรามาวัดกันในเรื่องข้อเสีย เพื่อให้เห็นกันชัดๆ ดีกว่า เคลือบแก้ว ข้อเสีย ของระบบพ่นและระบบทา เป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง แล้วค่อยเอามาเปรียบเทียบเพื่อตัดสิน

ข้อเสียของ เคลือบแก้วระบบพ่น ล้วน

1. สิ้นเปลืองน้ำยา เนื่องจากในการทำ เคลือบแก้ว ด้วยวิธีการพ่นเป็นการใช้แรงดันของลมเป็นตัวส่งน้ำยาออกไปในลักษณะเป็นฝอยละออง ดังนั้นจึงทำให้เกิดการสูญเสียน้ำยาจากการฟุ้งกระจายไปในอากาศมากถึง 60-70% เลยทีเดียว
2. ไม่ได้หนาอย่างที่คิด มีคนจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่าระบบพ่นเป็นวิธีการ เคลือบแก้ว ที่ทำให้เกิดชั้นน้ำยาที่หนามากกว่า เพราะน้ำยาถูกพ่นลงไปโดยตรงลงไปที่ผิวของรถ แต่ในความเป็นจริง เคลือบแก้วระบบพ่น เมื่อพ่นเสร็จแล้วก็จำเป็นต้องเช็ดเพื่อให้น้ำยาลงทั่วพื้นผิวอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นต่อให้พ่นหนายังไง ก็ถูกผ้าที่ใช้ในการเช็ดซับน้ำยาออกไปอยู่ดี
3. เสี่ยงต่อการได้ระดับความหนาของน้ำยาที่ไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการพ่น น้ำยาเคลือบแก้ว บนพื้นผิวของรถเป็นงานชิ้นที่ใหญ่ ต้องใช้ปริมาณน้ำยามากกว่าจะครอบคลุมทั่วถึงทั้งคันรถในระดับความหนาที่เพียงพอ ดังนั้นหากช่างหน้างาน พ่นแบบหวงน้ำยาจะกลายเป็นไม่ทั่วเสียเอง และยังตรวจสอบยากเนื่องจากชั้นฟิล์มมีความใส เมื่อพ่นทั่วก็ดูไม่ออกว่าตรงไหนหนาตรงไหนบางเกินไป

ข้อเสียของ เคลือบแก้วระบบทา ล้วน
1. มีข้อจำกัดในเรื่องการทำให้น้ำยาเคลือบทั่วถึง เนื่องจากวิธีการทาไม่สามารถเข้าซอกซอนเข้าไปในบางจุดที่เป็นช่องหรือเป็นซอกหลืบเล็กๆ ทำให้น้ำยาเข้าไปไม่ถึงทุกซอกมุม ซึ่งเรื่องนี้เกิดจากข้อจำกัดขออุปกรณ์ที่ใช้ในการทำ เคลือบแก้ว ในแบบทา
2. ภาพลักษณ์ดูไม่ดีเท่าระบบพ่น เรื่องนี้ดูจะเป็นข้อที่โดนเอามาเปรียบเทียบมากที่สุด เพราะระบบพ่นมีอุปกรณ์หลายอย่างทำให้ดูน่าเชื่อถือ และดูทันสมัย แต่ระบบทาใช้เครื่องแบบพื้นๆ ทาไปเรื่อยๆ รอบๆ คัน ดังนั้นเรื่องภาพลักษณ์จึงเป็นรองอยู่บ้างในสายตาของผู้นำรถมาทำ เคลือบแก้ว
นี่คือการนำเอาจุดด้อยข้อเสียของการทำ เคลือบแก้ว ระหว่าระบบพ่น และระบบทา มาเปรียบเทียบให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะทำ เคลือบแก้วรถยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ได้นำมาเอาไปพิจารณาก่อนที่จะใช้บริการ แต่หากถามว่าทางออกที่ดีกว่ามีหรือไม่ ก็ต้องตอบว่า “มี” ซึ่งก็คือ การนำเอาจุดเด่นและข้อเสียของทั้งสองระบบมาผสมกัน เพื่อให้ได้ข้อดีในการเคลือบปกป้องที่ดีที่สุด จึงได้ออกมาเป็น การ “เคลือบแก้วระบบทากึ่งพ่น

ข้อดีของการทำ เคลือบแก้วระบบทากึ่งพ่น ทำให้เราได้ประสิทธิภาพที่ครอบคลุม และตอบโจทย์ดังนี้
1. สามารถลง น้ำยาเคลือบแก้ว ได้อย่างทั่วถึงในพื้นที่งานชิ้นใหญ่ เนื่องจากช่างผู้ทำงานจะมองเห็น Layer จากการทาตามแนวฟองน้ำ
2. ไม่สิ้นเปลืองน้ำยาโดยเปล่าประโยชน์ในการทำ เคลือบแก้ว บนชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ ทั้งในเรื่องการฟุ้งกระจายสูญเปล่าไปกับอากาศ และจากการใช้ผ้าเช็ดน้ำยา
3. สามารถเก็บรายละเอียดงานตามซอกที่มือและอุปกรณ์ในการทาเข้าไปไม่ถึง
4. ได้ราคาที่เหมาะสม เนื่องจากผู้ให้บริการสามารถควบคุมต้นทุนน้ำยาได้ดี สามารถกำหนดราคาการทำ เคลือบแก้ว ให้เหมาะสมและคุ้ม กับค่าใช้จ่ายของลูกค้าได้อย่างเต็มที่
5. ได้ประสิทธิภาพในการปกป้องอย่างเต็มที่ เนื่องจากลงน้ำยาได้อย่าทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ของรถ
ทั้งหมดนี้น่าจะสามารถตอบคำถามความสงสัยเกี่ยวกับการทำ เคลือบแก้ว ได้อย่างชัดเจน ในเรื่องของการเปรียบเทียบระหว่าง ระบบพ่น และระบบทา ส่วนจะตัดสินใจแบบใดนั้น ก็ขอให้ลองพิจารณาข้อดี ผลเสีย ด้วยตัวของท่านเองก่อนตัดสินใจเลือกใช้บริการ แต่ที่สำคัญอีกอย่างก็คือ การเลือกศูนย์บริการเคลือบแก้ว ที่ได้มาตรฐาน เพื่อที่เราจะได้ผลงานที่ดีที่สุดเพื่อรถของเราจะได้สวยงาม คุ้มและทนทานตามที่เราตั้งใจ

Albatros ตัวจริงเรื่องการดูแลรถ ต้องการบริการ เคลือบแก้ว เคลือบแก้ว รัชดา เคลือบแก้ว ห้วยขวาง เดินทางมาได้ที่คาร์แคร์ของเรา หรือ หากต้องการบริการพิเศษในต่างพื้นที่ ต่างจังหวัด ติดต่อได้ เรายินดีให้คำปรึกษาและให้บริการ คลิกดูโปรโมชั่น หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

Line-Icon-OSX

 Line id: @albatros
qr code @albatros

One thought on “เคลือบแก้วพ่นกับทาอันไหนดีกว่ากัน

Leave a Reply